จิตกรรมบนแผ่นกระจกสืบสานศิลปะลายไทย
คุณลุงสายนต์ แก้วเหลือง ชายไทยที่ผลิตผลงานอันทรงคุณค่า
แม้จะทำเพื่อยังชีพหากแต่สิ่งที่เขาทำยังรักษาสิ่งที่ควรค่าแก่ความภูมิใจในศิลปะวัฒนธรรมไทยอย่างน่าชื่นชม
คุณลุงสายนต์เป็นชาวอยุธยา
เคยบวชเณรมาตั้งแต่อายุเพียง13ปี จนกระทั่งบวชพระต่ออีก 5 ปี
จนได้เป็นครูสอนนักธรรมเอกและได้เรียนรู้วิชาวาดรูดบนฝาผนังพร้อมทั้งการทำลวดลายแบบลงรักปิดทองตั้งแต่แต่คัร้งนั้น
ในช่วงที่เป็นเณรได้มีโอกาสช่วยพระที่วัดเขียนรูปฝาผนังโบสถ์ตามที่ต่างๆหลายจังหวัด
เมื่อเป็นพระก็ได้ไปศึกษาการทำอุตสาหกรรมศิลปะต่างๆ ที่ ศูนย์อุตสาหกรรมเชียงใหม่ ที่มีการเปิดสอนเกี่ยวกับลายไทย
จึงขึ้นมาเรียน 2 เดือน
ระหว่างนั้นก็ได้บิณฑบาตเลี้ยงชีพไปเรื่อยๆ
พบชาวบ้านแห่งหนึ่งเขียนลวดลายรดน้ำบนเครื่องเขินแล้วมีการลงรักปิดทองทับอีกชั้นหนึ่ง
ก้ติดใจแต่ยังไม่มีโอกาสได้ศึกษา
เพราะเรียนจบหลักสูตรการเขียนลายไทยแล้วก็กลับอยุธยาทันที
ต่อมามีโอกาสได้ขึ้นมาเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงเรียนการใช้กรวยเพ้นสี อีก 2
เดือน พร้อมกันนั้นก็เรียนการเขียนลายน้ำรดบนเครื่องเขินไปด้วย จนกระทั่งฝีมือชำนาญได้รับงานมาทำสมัยเป็นพระมากมาย
ได้รับเงินมากมายและมาสึกที่วัดในเชียงใหม่มาทำงานด้านนี้เอง จากนั้นเริ่มออกหางานทำโดยการเขียนลายบนเครื่องเขินบนเส้นทางสายเชียงหม่- สันกำแพง และย้ายไปทำงานเรื่อยๆ
เพราะความแปลกใหม่ เป็นการศึกษาหาความรู้ประสบการณ์ตรงของคุณลุงเอง
จึงเร่ร่อนไปเรื่อยๆ ตามความพอใจจนได้พบเจ้าของร้านไชยา ซึ่งเป็นร้านเขียนภาพการ์ตูนบนกระจก
ก็เกิดความคิดน่าจะเขียนภาพลายไทยบนกระจกได้ โดยประยุกต์จากการเขียนการ์ตูน
จึงได้ทำงานกับร้านไชยาอยู่ระยะหนึ่ง คุณลุงยังเล่าให้ฟังอีกว่า
เคยย้ายไปอยู่ที่ภูเก็ต เขียนรูปบนกระจกตามโรงแรมต่างๆ เป็นที่ชื่นชอบของฝรั่งมาก
จนเริ่มมองหาทางอาชีพของตนออกว่าสามารถยึดการเขียนลายไทยบนกระจกขายได้
จึงได้กลับมาเปิดร้านในไนท์บราซ่าร์ ยึดเป็นเป็นอาชีพส่วนตัวเปิดร้านตั้งแต่เวลา 16.00
- 23.00 น. และผลิตภานในครอบครัวที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่
ผลงานของคุณลุง |
คุณลุงสายนต์ เล่าถึงปัญหาให้ฟังว่า สิ่งที่พบว่าเป็นปัญหาทุกวันนี้คือ หาคนสืบทอดงานศิลปะประเภทนี้ยากมาก แม้กระทั่งลูกสาวที่ฝึกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ ก็ทำได้แค่รายละเอียดตกแต่งภานใตโครงภาพที่ร่งไว้แล้ว เคยมีคนคิดเลียนแบบ แต่ก็ทำได้ไม่เหมือน เพราะ เป็นงานที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยใจรักจริงๆ จึงจะมีความอดทนเขียนลวดลายออกมาได้ ดั้งนั้นเมื่อทำเลียนได้ระยะหนึ่งก็เลิกทำไป
ภาพแต่ละภาพนั้นใช้เวลาวาดไม่เท่ากัน บางภาพใช้เวลาค่อนข้างนาน เช่น
ภาพพระรามทรงรถ เนื่องจากมีรายละเอียดมาก ขณะที่ขายเท่ากับผลงานชิ้นอื่นๆ
ในขนาดเท่ากัน โดยได้ทำไว้ 4 ขนาด คือ ขนาดเล็ก กว้าง 6 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว ขนาดกลาง กว่าง 8 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว ขนาดใหญ่ กว้าง 10 นิ้ว ยาว 13 นิ้ว และขนาดจัมโบ้ คือ กว้าง 14
นิ้ว ยาว 18 นิ้ว และขณะนี้มีลวดลายไทยที่ออกแบบเป็นรูปต่างๆไว้กว่า
30 แบบ เช่นภาพประวัติศาสตร์ช้างชนกัน ภาพพระพุทธเจ้า
ภาพหนุมาน เป็นต้น และจะคงออกแบบใหม่เรื่อยๆ
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นิยมซื้อขนาดใหญ่ ไว้ประดับบ้าน
และซื้อเป็นของที่ระลึกเนื่องในงานขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน หรือวันเกิด ภาพที่ได้รับความนิยมทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
คือภาพ เรือสุพรรณหงส์ เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น